
ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2568 พลเรือโทสุวัจ ดอนสกุล ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางและภาค 3 (ผอ.ศรชล.ภาค 3) เป็นประธานเปิดการอบรมให้ความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัยของการเดินเรือในทะเล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้กับเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัยของการเดินเรือในทะเล ณ โรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ มีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต รวมทั้งหน่วยงานเอกชนและมูลนิธิกุศลธรรม เข้าร่วมรับการอบรม และบรรยายให้ความรู้โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนกลาง
🔹การอบรมในวันนี้ เป็นการอบรมในหัวข้อระดับสากลที่ประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ((IMO) ถือว่าเป็นพันธกิจที่ต้องปฏิบัติร่วมกัน ไปจนถึงหัวข้อการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการเดินเรือในทะเลทุก ๆ มิติ ซึ่งการอบรมในวันนี้ถือว่าเป็นก้าวแรกของแผนงานที่จะนำไปสู่การปฏิบัติงานจริงของ 3 ขั้นตอนคือ
1. ขั้นตอนการอบรมให้ความรู้ ปูพื้นฐานให้กับเจ้าหน้าที่ ให้มีความรู้ความเข้าใจในทุก ๆ มิติ
2. ขั้นตอนการซักซ้อมความเข้าใจในรูปแบบของการฝึกซ้อมในห้องปฏิบัติการหรือที่เรียกว่า Table Top Exercise (TTX) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับ ได้เข้าใจถึงขั้นตอนการปฏิบัติ กระบวนการปฏิบัติงาน การประสานงาน การปฏิบัติการร่วม การคิด การวิเคราะห์ การตัดสินใจเลือกหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด การสั่งการ การควบคุมสถานการณ์ รวมถึงการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤต
3. ขั้นตอนการฝึกปฏิบัติจริงในสนาม/ในทะเล เป็นการฝึกปฏิบัติจริงของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ด้วยเครื่องมือ ยานพาหนะ อุปกรณ์ ที่ใช้ปฏิบัติงานจริง ในพื้นที่ปฏิบัติงานจริง เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะทำให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับ สามารถปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
📍หัวข้อการอบรมในวันนี้ประกอบด้วย
🔸องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) และอนุสัญญา SOLAS
🔸แนวทางการฝึกร่วมกับเรือโดยสาร Genting Dream
🔸ระบบการค้นหาและช่วยเหลือทางทะเล (M-SAR) ของไทย
🔸บทบาทของกองทัพเรือกับการค้นหาและช่วยเหลือทางทะเล (M-SAR) และการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเลขนาดใหญ่
🔸ระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล Maritime EMS
🔸บทบาทของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลและระบบบัญชาการเหตุการณ์ในสภาวะวิกฤต
🔸ระบบสื่อสารและการแจ้งเหตุฉุกเฉินทางทะเล
📍ในโอกาสนี้พลเรือโทสุวัจ ดอนสกุล ผอ.ศรชล.ภาค 3 ได้กล่าวกับผู้เข้ารับการอบรมความว่า ในแต่ละปีมีเรือโดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมากสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาลดังนั้นประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องยกระดับความปลอดภัยทางทะเลสู่มาตรฐานสากลตามที่ IMO กำหนด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการเรียนโดยสารระหว่างประเทศ การอบรมและการฝึกในช่วง 3 วันนี้จะเป็นเส้นทางสู่การเป็นประเทศที่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยของการเดินเรือในทะเล
(คลิปวิดีโอในคอมเม้นท์)
📌 หลังจากพิธีเปิดการอบรม พลโทสุวัจ ดอนสกุล ผอ.ศรชล.ภาค 3 และผู้เข้ารับการอบรมได้ร่วมชมนิทรรศการของส่วนต่างๆประกอบด้วย
🔸การจัดแสดงอุปกรณ์การช่วยชีวิต การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลของ บริษัท เอ แอนด์ มารีน จำกัด
🔸การจัดแสดงเรือช่วยชีวิต และอุปกรณ์ช่วยชีวิตบังคับด้วยรีโมทของ บริษัท Seat Boat จำกัด
🔸 การจัดแสดงวิทยุสื่อสารทางทะเลอุปกรณ์ตรวจจับคลื่นใต้น้ำความสูงของคลื่นและระบบวิเคราะห์พฤติกรรมเรือของบริษัทจักรวาล คอมมูนิเคชั่น ซีสเต็มส์ จำกัด
🔸การจัดแสดงระบบการสื่อสารการควบคุมการจราจรทางทะเลของบริษัท โทรคมนาคมแห่งประเทศไทย จำกัด
🔸การจัดแสดงวิทยุสื่อสารผ่านดาวเทียมของบริษัท ICOM iridium จำกัด
ที่มา : ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 - ศรชล.ภาค 3
“ศรชล. เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศชาติและประชาชน”
เหตุด่วน เหตุร้าย ภัยทางทะเล แจ้งสายด่วน 1465 หรือ 02 888 1465 ตลอด 24 ชั่วโมง