ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
Thai Maritime Enforcement Command Center
ขนาด
ภาษา
เกี่ยวกับ ศรชล.
วิสัยทัศน์และพันธกิจ


พันธกิจของ ศรชล.

๑. วางแผน อำนวยการ ประสานงาน สั่งการ และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง จัดการ แก้ไขหรือบรรเทาปัญหา เหตุการณ์ สาธารณภัย หรือการกระทำผิดกฎหมายที่ส่งผลประทบหรืออาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

๒. ติดตาม ตรวจสอบ วิเคราะห์ และประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และรายงานคณะกรรมการ และคณะรัฐมนตรี ตามลำดับเพื่อพิจารณา

๓. เสนอแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานและดำเนินการตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ หรือแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนงานและโครงการ เพื่อปฏิบัติให้สอดคล้องกับแผนและแนวทางดังกล่าวต่อไป

๔. วางแผน พัฒนา และดำเนินการเกี่ยวกับระบบควบคุมบังคับบัญชาและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการปฏิบัติงานของ ศรชล. ให้สามารถติดต่อ เชื่อมโยง หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานอื่นทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

๕. เผนแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนตระหนักรู้ในความสำคัญของผลประโยชน์ของชาติทางทะเล สิทธิอธิปไตย เขตอำนาจ และสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลพื้นที่ต่าง ๆ และหน้าที่ที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่กระทบต่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

๖. ควบคุมบังคับบัญชาหน่วยงานของรัฐ เพื่อกำกับ ดูแล ป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง จัดการ แก้ไข หรือบรรเทาปัญหา เหตุการณ์ สาธารณภัย หรือการกระทำที่ผิดกฎหมายที่กระทบหรืออาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในภาวการณ์ที่จำเป็นตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

๗. ดำเนินการเพื่อให้มีการบูรณาการในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าระวัง ตรวจสอบ หรือเตรียมการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ใด ๆ ที่กระทบหรืออาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล หรือกิจกรรมทางทะเลในภาวการณ์ที่จำเป็น ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

๘. กำกับ ติดตาม และเร่งรัดหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการหรือบูรณาการ ในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนเผชิญเหตุ หรือคำสั่งการของ ศรชล. ที่เกี่ยวข้อง

๙. สั่งการและกำกับดูแลท่าเทียบเรือ กิจการท่าเรือ ที่จอดเรือ ท่ารับส่งสินค้า ท่ารับส่งคนโดยสาร ท่าเทียบเรือประมง กิจการแพปลา และพื้นที่หรือสถานที่ตามที่ผู้อำนวยการประกาศกำหนด ตามที่หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ควบคุมสถานที่หรือกิจการดังกล่าวร้องขอ หรืออยู่ในภาวการณ์ที่จำเป็นตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด