
วันที่ 23-28 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวสุภาพร องสารา หัวหน้ากลุ่มแผนงาน พร้อมด้วยนายธรณ์ธวัช พรหมยอด เจ้าหน้าที่ประสานงานและอำนวยการปฏิบัติ นายวัชรินทร์ ตังอำนวย เจ้าหน้าที่จัดทำแผนและรองรับการปฏิบัติการ ลงพื้นที่ให้ความรู้ความเข้าใจในภารกิจของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกับหน่วยงานในสังกัด ศรชล. และร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ จ.ภูเก็ต และพื้นที่ใกล้เคียงที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรค และข้อขัดข้องจากการปฏิบัติงานในพื้นที่ จ.ภูเก็ต และพื้นที่ใกล้เคียงที่เกี่ยวข้อง และลงพื้นที่แหล่งวางไข่เต่ามะเฟือง บริเวณหาดคึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา โดยวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 ลูกเต่ามะเฟืองตัวแรกฟักและออกจากหลุมเวลาประมาณ 06.00 น. และในเวลา 23.00 น. เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (พังงา) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ทำการขุดหลุมฟักเพื่อตรวจสอบ พบว่าในหลุมพบลูกเต่ามะเฟืองมีชีวิตเพิ่ม 6 ตัว และตาย 1 ตัว รวมลูกเต่าที่ฟักทั้งหมด 7 ตัว ไข่ไม่ได้รับผสม 69 ฟอง ไข่ติดเชื้อ 6 ฟอง รวมไข่ทั้งหมด 82 ฟอง สำหรับหลุมฟักไข่เต่าทะเลรังนี้ แม่เต่าวางไข่วันที่ 30 ธันวาคม 2567 จากนั้นเจ้าที่ สปก.5 เดินทางไปติดตามและสังเกตการณ์สถานการณ์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล จว.พังงา บริเวณชายหาดนาใต้ ชายหาดท้ายเหมือง ชายหาดคึกคัก ชายหาดปากวีป ชายหาดทับตะวันจากนั้น เจ้าหน้าที่สำนักปฏิบัติการ 5 ศรชล. เดินทางไปติดตามและสังเกตการณ์สถานการณ์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล จว.พังงา บริเวณชายหาดนาใต้ ชายหาดท้ายเหมือง ชายหาดคึกคัก ชายหาดปากวีป ชายหาดทับตะวัน โดยพื้นที่ชายฝั่งบางแห่งมีเศษปะการังหักพังถูกคลื่นซัดขึ้นมาในช่วงฤดูลมมรสุม