ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
Thai Maritime Enforcement Command Center
ขนาด
ภาษา
ข่าวสาร
/
ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักปฏิบัติการ 5 ศรชล. ติดตามตรวจสอบสถานการณ์ภัยคุกคามด้านทรัพยากรทางทะเล และสถานการณ์เฉพาะกิจตามแผนเผชิญเหตุ บริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต

วันที่ 25-29 พฤศจิกายน 2567 นายนิพนธ์ ทองอยู่ ผอ.สำนักปฏิบัติการ 5 ศรชล./ผอ.กลุ่มงานปฏิบัติราชการประจำ ศรชล. พร้อมด้วยนางสาวสุภาพร องสารา หัวหน้ากลุ่มแผนงาน นายธรณ์ธวัช พรหมยอด เจ้าหน้าที่ประสานงานและอำนวยการปฏิบัติ นายวัชรินทร์ ตังอำนวย เจ้าหน้าที่จัดทำแผนและรองรับการปฏิบัติการ ลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบสถานการณ์ภัยคุกคามด้านทรัพยากรทางทะเล และสถานการณ์เฉพาะกิจ ตามแผนเผชิญเหตุ บริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต ดังนี้

จังหวัดพังงา 

-พื้นที่แหล่งวางไข่เต่าวางไข่ บริเวณบ้านบ่อดาน ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ในขณะนั้นยังไม่พบเต่าทะเลขึ้นวางไข่ในบริเวณดังกล่าว

-พื้นที่ชายฝั่ง มีเศษปะการังหักพัง ถูกคลื่นซัดขึ้นมาในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณหาดทับตะวัน ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องใน พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 ประเด็นการห้ามเก็บซากปะการังไว้ในครอบครอง และได้ตรวจสภาพเศษปะการังที่พบในพื้นที่ชายฝั่งบริเวณดังกล่าว


จังหวัดภูเก็ต 

-การดำเนินงานในการให้อาหารทดแทนหญ้าทะเล ให้แก่พะยูนที่อพยบมาจาก จังหวัดอื่นๆ บริเวณ ตำบลราไว อำเภอฉลอง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งพืชที่นำมาดัดแปลงทดแทน ได้แก่ หญ้าตะกานน้ำเค็ม Ruppia Maritima และหญ้าช้อง Blyxa octandra Planch โดยจะต้องเปลี่ยนอาหารในแปลง 2 วันต่อครั้ง

ปัญหาอุปสรรค คือมีปลาสลิดชวา Siganus Janus มากินหญ้าตะกาน ใช้วิธีแก้ไขโดยพยายามใช้เครื่องมือจับปลาสลิดชวา เพื่อลดการรบกวนการกินอาหารของพะยูน

-พื้นที่ชายฝั่ง มีเศษปะการังหักพัง ถูกคลื่นซัดขึ้นมาในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณหาดกะตะ กะรน ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องใน พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 ประเด็นการห้ามเก็บซากปะการังไว้ในครอบครอง และได้ตรวจสภาพเศษปะการังที่พบในพื้นที่ชายฝั่งบริเวณดังกล่าว

-กิจกรรมการสำรวจ ติดตาม และเฝ้าระวังแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน บริเวณอ่าวป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ด้วยอากาศยานไร้คนขับแบบอัตโนมัติ โดยมีผู้ควบคุมการบินระยะไกล วันละประมาณ 3 เที่ยวบิน โดยมีการถ่ายทอดสดทาง facebook ดำเนินการจากกองป้องกัน ปราบปราม และบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครอง และหน่วยงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่